ปกิณกะ พระเครื่อง / แล่ม จันท์พิศาโล ครั้งที่ 72

30 มกราคม 2564 ยอดผู้ชม 23758 ครั้ง


พระหลวงพ่อทวด  วัดช้างให้

หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี 2505


        พระหลวงพ่อทวด  วัดช้างให้  หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ปี 2505   หากพิจารณาเป็นพิมพ์หลักๆ  สามารถจำแนกเพื่อความสะดวกในการจดจำ   โดยแบ่งออกได้ 4 พิมพ์ (บล็อก) หลัก  คือ  1. พิมพ์เล็กมีตัว  “ท”   




พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก มีตัว “ท” (ด้านหน้าใต้แข้งหลวงพ่อทวด)(ด้านหน้า)
พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก มีตัว “ท” (ด้านหน้าใต้แข้งหลวงพ่อทวด)(ด้านหลัง)



พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก มีตัว “ท” (ด้านหน้าใต้แข้งหลวงพ่อทวด)(ด้านข้าง)
พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก มีตัว “ท” (ด้านหน้าใต้แข้งหลวงพ่อทวด)         (ด้านใต้ฐาน)



พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก มีตัว “ท” (ด้านหน้าใต้แข้ง หลวงพ่อทวด)      (ด้านหน้า)
 พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก มีตัว “ท” (ด้านหน้าใต้แข้ง หลวงพ่อทวด)           (ด้านหลัง)

2. พิมพ์เล็ก “ว จุด” 



   พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก     “ว จุด” (ด้านหลัง คำว่า “วัด”)(ด้านหน้า)
พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก 
“ว จุด” (ด้านหลัง คำว่า “วัด”)(ด้านหลัง)



 พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก        “ว จุด” (ด้านหน้า)
   พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือพิมพ์เล็ก 
 “ว จุด” (ด้านหลัง)

   นอกจากนี้ยังมี พิมพ์เล็กธรรมดา  ซึ่งมีอีกหลายพิมพ์ย่อย  ที่เรียกชื่อตามลักษณะกายภาพของหัวตัว  “”  ของคำว่า  วัด”   ซึ่งในวงการพระเครื่องเรียกกันจนเป็นที่จดจำ  อาทิ     พิมพ์เล็ก “ว หัวตัน” 






พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก “ว หัวกลวง” ไม่ตัดปีกผิวไฟ(ด้านหน้า)
พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก “ว หัวกลวง” ไม่ตัดปีกผิวไฟ(ด้านหลัง)
พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก “ว หัวกลวง” ไม่ตัดปีกผิวไฟ(ด้านข้าง)

พิมพ์เล็ก  ว หัวยืด”  




พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก “ว หัวยืด” กะไหล่ทอง(ด้านหน้า)
พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก “ว หัวยืด” กะไหล่ทอง(ด้านหลัง)

 และ พิมพ์เล็ก  “ว หัวตัน”  เป็นต้น




พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก “ว หัวตัน”(ด้านหน้า)
พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก “ว หัวตัน”(ด้านหลัง)


        แต่ละพิมพ์หลักที่กล่าวข้างบนนี้  หากพิจารณาทั้งด้านหน้าและด้านหลังองค์พระ   ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นพิมพ์ย่อยๆ อีกหลายพิมพ์  ซึ่งมักแบ่งย่อยตามลักษณะโครงหน้าของ หลวงพ่อทวด  และลักษณะตัวหนังสือที่แตกต่างกันในรายละเอียด  อาทิ   พิมพ์เล็ก “ว จุด” หน้าหนูพิมพ์เล็ก “ว จุด” หัวกระเด็น  เป็นต้น   (ที่โชว์ภาพนี้คือ บางส่วนของพิมพ์ย่อย)

ความแตกต่างกันที่ว่านี้  ในภาพรวมอาจเนื่องจากหลายสาเหตุ  อาทิ ใช้แม่พิมพ์ปั๊มคนละตัวกัน  หรือแม่พิมพ์ปั๊มตัวเดียว แต่ลงแรงกระแทกที่ต่างกัน  อาจก่อให้เกิดสัณฐานใบหน้ามีมิติ  หรือ เส้นแตกที่ต่างกัน   

นอกจากนี้  การปั๊มพระ มักจะมีการสลับไขว้แม่พิมพ์กัน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง   ก่อให้เกิดการเรียกพิมพ์ย่อยใหม่ได้เช่นกัน

จุดสังเกตหลัก  ที่ใช้ในการแยกพิมพ์กัน  โดยสังเกตที่ สัณฐานของวงเดือน  เส้นแตก  โครงหน้า  และตัวอักษร เป็นต้น  

ในที่นี้  เนื่องจากพื้นที่จำกัด  จึงขอนำเสนอได้เพียงบางองค์อย่างที่เห็น  พระโชว์นี้ เกือบทั้งหมดผ่านการเป็นพระแชมป์งานประกวดใหญ่  ที่  สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย  รับรอง ไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง  เป็นพระสภาพเก่าเก็บ  สภาพสมบูรณ์ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์  ในองค์ที่รมดำยังมีผิวปรอทคลุมทั่วทั้งองค์พระ  โดยผิวพระแทบไม่มีเปิดเลย   พร้อมกับมิติความคมชัดทุกสัดส่วน   ถือว่าเป็นการแชร์ความรู้กับท่านผู้อ่านคอลัมน์นี้  ที่ได้ชมภาพ   “พระแท้องค์ครู  พระสวยองค์จริง”  พร้อมๆ กันทีละหลายๆ องค์ 



ขอขอบพระคุณ  ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช  เจ้าของ พระหลวงพ่อทวด หลังหนังสือ พิมพ์เล็ก ทั้ง 7 องค์  พร้อมทั้งข้อมูลในบทความนี้