รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” ปี 2507

25 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 124741 ครั้ง

รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” ปี 2507

////////////////////////////////////////////////////////
องค์ที่ 1 รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ”
องค์ที่ 1 รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ”
องค์ที่ 1 รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ”
องค์ที่ 1 รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ”
องค์ที่ 1 รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ”
     รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” ปี 2507 เป็น 1 ใน 5 ของพระชุดเบญจภาคีรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ยอดนิยม อันประกอบด้วย รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร, รูปเหมือนปั๊มและพระหล่อโบราณ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์,รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ รุ่นเลขใต้ฐาน (หรือรุ่นเบตง จ.ยะลา), รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ อ.หนองแค จ.สระบุรี และ รูปเหมือนหล่อโบราณ “พระพ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” ปี 2507      ที่เรียกว่า พิมพ์ก้น “อุ” มาจากมีตัวอักขระขอม คำว่า “อุ” ติดมากับองค์พระ เป็นร่องลึกตรงใต้ฐาน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการตอกในภายหลังแต่อย่างใด      รูปเหมือนพ่อท่านคล้าย รุ่นนี้ทำพิธีเททองหล่อที่ วัดบางเดือน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อประมาณปี 2505 ออกให้เช่าบูชาเมื่อปี 2507 ที่ วัดกรูด อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี และส่วนหนึ่ง “พ่อท่านคล้าย” ได้เอาไปแจกที่วัดสวนขันในภายหลัง จำนวนสร้างไม่มากนัก ประมาณไม่เกิน 1 พันองค์      เนื้อพระออกวรรณะเหลืองเป็นหลัก บางองค์ออกวรรณะเหลืองอมเขียว ผิวนอกมักออกวรรณะน้ำตาลอมดำ ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 2 ซม.เศษ สูงประมาณ 3 ซม.      พระรุ่นนี้วงการพระเครื่องแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์หลัก คือ พิมพ์ต้อ (นิยม) และ พิมพ์ชะลูด ซึ่งยังแบ่งย่อยๆ ออกไปอีกหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ต้อหน้าใหญ่, พิมพ์ต้อหน้าเล็ก, พิมพ์ชะลูดหน้าแหงน ฯลฯ      ปัจจุบันองค์ที่หล่อได้คมชัดสวยสมบูรณ์ มีราคาค่านิยมเกินกว่าหลักแสนแล้ว คาดว่าอนาคตอันใกล้ความนิยมจะสูงขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว      รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” พิมพ์ต้อ (นิยม) ที่นำมาให้ชมนี้ จัดเป็น “พระแท้องค์ครู”องค์แรกเป็นพระที่หล่อออกมาแบบผิวเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้มาก่อน ที่เรียกว่า “ผิวมะระ” ในร่องตัว “อุ”ปรากฏขี้เบ้าให้เห็นอย่างชัดเจน นับเป็น “พระแท้ดูง่าย” ที่ยึดเป็นแนวทางการศึกษาได้เลย
องค์ที่ 2 รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” (แต่งผิว)
องค์ที่ 2 รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” (แต่งผิว)
องค์ที่ 2 รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” (แต่งผิว)
     องค์ที่ 2 เป็นพระที่ผ่านการตกแต่งเกลาผิว ตั้งแต่เดิม โดยช่างผู้ชำนาญการในการตกแต่งองค์พระ จึงมีความสวยงามคมชัด มีเสน่ห์ไปอีกรูปแบบหนึ่ง      ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช เจ้าของพระ “พ่อท่านคล้าย” ทั้ง 2 องค์นี้ พร้อมกับข้อมูลประกอบบทความนี้ --------------------------------
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดสวนขัน
ประวัติ “พ่อท่านคล้าย” โดยสังเขป      พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน  จ.นครศรีธรรมราช นามเดิม "คล้าย สีนิล" เกิดวันที่ 27 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด พ.ศ.2419 ที่ บ้านโคกทือ ต.ช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล      อายุ 19 ปี บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดจันดี ต.หลักช้าง อายุครบ 20 ปี อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) วัดวังม่วง โดยมี พระอาจารย์กราย คังคสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์,พระอาจารย์สังข์ สิริรตโน เจ้าอาวาสวัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ทอง ปทุมสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดวังม่วง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จันทสุวัณโณ”      พ.ศ.2441 ท่านได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เรียนมูลกัจจายนะ ในสำนักพระครูกาแก้ว (ศรี) ณ วัดหน้าพระธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฏฐานที่สำนักวัดสามพัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี      พ.ศ.2445 ได้กลับมาจำพรรษาวัดหาดสูง ใกล้ตลาดทานพอ ในสำนักพ่อท่านกราย เพื่อศึกษาวิปัสสนาและไสยศาสตร์      พ.ศ.2448 เป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จนถึงวันมรณภาพ      ได้รับพระราชสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เมื่อ พ.ศ.2498 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในสมณศักดิ์เดิม      เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ มีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดี ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ชาวบ้านได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ขึ้นในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย พร้อมกับแต่งตั้งให้ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส      พ่อท่านคล้าย เป็นพระนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ ตลอดชีวิตท่านได้ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยเดินทางไปพัฒนาตามที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สร้างสะพานหลายแห่ง ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และชาวบ้านที่มีต่อท่าน      ชาวบ้านที่เคารพนับถือศรัทธาท่าน มีความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของวาจาท่าน พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา และมักจะให้พรกับทุกคนว่า "ขอให้เป็นสุข เป็นสุข" เป็นสิริมงคลที่ทุกคนหวังที่จะได้รับคำอวยพรจากท่านเสมอ      พ่อท่านคล้าย ได้มรณภาพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2513 ด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ 95 ปี สรีระสังขารของท่านได้ประดิษฐานไว้ในหีบแก้ว ในองค์เจดีย์ วัดพระธาตุน้อย จนถึงปัจจุบัน
/////////////////////////////