เหรียญพระรูปเสี้ยว สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ รุ่นแรก ปี 2495 หลังยันต์นูน

25 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 12334 ครั้ง
เหรียญพระรูปเสี้ยว สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ รุ่นแรก ปี 2495 หลังยันต์นูน  แล่ม จันท์พิศาโล   /////////////////////////////////////////////////////////////////
เหรียญพระรูปเสี้ยว สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ ณ อยุธยา) วัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์ยันต์นูน รุ่นแรก ปี 2495 (ด้านหน้า)
เหรียญพระรูปเสี้ยว สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ ณ อยุธยา) วัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์ยันต์นูน รุ่นแรก ปี 2495 (ด้านหลัง)
เหรียญพระรูปเสี้ยว สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ ณ อยุธยา) วัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์ยันต์นูน รุ่นแรก ปี 2495 (ด้านข้าง)

เหรียญพระรูปเสี้ยว สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์      (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ ณ อยุธยา) วัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์ยันต์นูน รุ่นแรก ปี 2495  พิมพ์ยันต์จม รุ่น 2 ปี 2507  จัดสร้างโดย ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช  เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระมงคลฉลองพระชนมายุครบ 80 พรรษา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง    วชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ปี 2495 ถือเป็นเหรียญรุ่นแรก และเป็นพิมพ์นิยม สร้างพร้อมกับเหรียญและพระกริ่งไพรีพินาศ ที่มีค่านิยมสูงของสายวัดบวรนิเวศวิหาร

ต่อมาในปี 2507 ทางวัดได้จัดสร้างเหรียญเหรียญพระรูปเสี้ยว ขึ้นมาอีก   พิมพ์หนึ่ง ด้านหน้าเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะด้านหลังที่เป็นพิมพ์ยันต์จม  

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ ณ อยุธยา)
.....

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ประสูติในต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 13 ปี ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดมา จนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” เมื่อทรงมีพระชนมายุ 73 ปี

เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จออกทรงผนวช และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร (ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499) พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์     (พระอุปัชฌาย์)

แม้ว่าพระองค์จะมีชาติตระกูลสูง อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งประมุขสงฆ์ แต่พระองค์ทรงมีชีวิตอย่างเรียบง่าย สมถะ สันโดษ มีพระเมตตาและเป็นกันเองอย่างยิ่งกับชาวบ้านทั่วไป ไม่เฉพาะกับผู้คน แต่ยังรวมถึงสรรพสัตว์อีกด้วย จนเป็นที่รู้กันดีว่า เมื่อได้เวลาฉันภัตตาหาร พระองค์จะเสด็จไปประทับที่ห้องเล็กๆ นั่งกับพื้น หันหลังพิงฝา  ระหว่างที่ฉันจะหยิบข้าวสุกทีละเมล็ดจิ้มกับข้าว แล้วเอาติดไว้ที่ฝาเบื้องหลัง เอานิ้วเคาะที่ฝาเบาๆ ครั้งสองครั้ง จิ้งจกจะวิ่งออกมากิน บางตัวที่รู้เวลาจะออกมาคอย และกินอาหารจากพระหัตถ์ของพระองค์เลยทีเดียว ว่ากันว่าพระองค์ทรงรู้จักจิ้งจกทุกตัวในกุฏิ

พระองค์ยังทรงเป็นที่ขึ้นชื่อในเรื่องความเป็นกันเอง ไม่ถือพระองค์ ไม่มีพิธีรีตองใดๆ  คราวหนึ่งพระองค์เสด็จไปงานบุญที่วัดแห่งหนึ่งใน จ.ลพบุรี ชาวบ้านที่มาทำบุญไม่รู้จักพระองค์ เรียกพระองค์ว่า “หลวงตา” พระองค์ก็ตอบรับ และสนทนากับชาวบ้านอย่างสนุกและสบายใจ

บางครั้งพระองค์หายไปจากวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลานาน พระผู้ใหญ่ในวัดตามหากันวุ่น ถามใครก็ไม่มีใครรู้ว่าเสด็จออกจากวัดตอนไหน เพราะไม่มีรถหลวงประจำตำแหน่งพระสังฆราชมารับ

ครั้นราวๆ เที่ยงเศษ ผู้คนก็โล่งใจเมื่อเห็นพระองค์เดินถือตาลปัตรกลับมาเอง ได้ความว่าทรงรับนิมนต์ชาวบ้านไปสวดมนต์และฉันเพลตามห้องแถวเล็กๆ บริเวณเสาชิงช้า หรือบางลำพู

เรื่องแบบนี้ เลขานุการประจำพระองค์มักไม่รู้ เพราะใครที่ประสงค์จะมานิมนต์พระองค์ สามารถเข้าถึงพระองค์ได้โดยตรงและง่ายดาย

พระองค์มักจะจดวันเวลานัดหมายไว้ตามเศษกระดาษบ้าง ห่อใบชาบ้าง สุดแท้แต่ว่ามีอะไรอยู่ใกล้มือ

ภายหลัง สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) สิ้นพระชนม์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช ในพระราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนถึงหลังจากที่พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราชแล้วว่า...ครั้งหนึ่งพระองค์ได้รับฎีกานิมนต์มางานพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างที่ลูกศิษย์วัดกำลังจับกลุ่มรอพระราชาคณะในขณะที่พระราชพิธีเสร็จสิ้นลง เด็กคนหนึ่งถามขึ้นว่า “สังฆราชองค์ใหม่ชื่ออะไรโว้ย”

ทันใดนั้นก็มีเสียงห้าวๆ ตอบมาจากข้างหลังว่า “ชื่อ ชื่น โว้ย” เป็นเสียงของสมเด็จฯ ซึ่งกำลังเสด็จออกมาจากพระที่นั่ง กำลังเดินตามหาลูกศิษย์ของท่านเพื่อกลับวัด แล้วบังเอิญได้ยินเสียงปุจฉาของเด็กคนนั้นพอดี ก็เลยตอบให้ สมดังพระฉายาที่มีผู้คนถวายสมเด็จฯ ในยุคนั้นว่า

“สมเด็จฯ วัดบวรพูดดีไม่เป็น  สมเด็จฯ วัดเทพศิรินทร์พูดเล่นไม่มี”

อันมีที่มาจากอุปนิสัยของสมเด็จฯ 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงมีอุปนิสัยเป็นคนตรง พูดอะไรโผงผาง  และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทร์ เป็นคนเคร่งครัดเคร่งเครียด

ในการเรียนการสอนนั่นเอง

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ เป็นโอรสในหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ และหม่อมเอม (สกุลเดิม คชเสนี) ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2415  สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2501 สิริพระชนมายุ 86 พรรษา

            (ขอขอบพระคุณ ภาพและข้อมูลจาก คุณฐกร บึงสว่าง ชุมชนคนเล่นพระ)