"หน้าดุยังกับเสือ ใครจะเอาไปใช้" เหรียญหน้าเสือ "หลวงพ่อน้อย" วัดธรรมศาลา

10 มีนาคม 2563 ยอดผู้ชม 26778 ครั้ง

เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อน้อย พิมพ์คอน้ำเต้า 

"หน้าดุยังกับเสือ ใครจะเอาไปใช้" เหรียญหน้าเสือ "หลวงพ่อน้อย" วัดธรรมศาลา   ////////////////////////////////////////////////////////////////// 



เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อน้อย พิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก (ด้านหน้า)
เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อน้อย พิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก (ด้านหลัง)



หรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อน้อย พิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก (ด้านข้าง)
เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อน้อย พิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก (ด้านข้าง)
เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อน้อย พิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก (ด้านข้าง)
     และที่โด่งดังมาก คือ เหรียญหล่อโบราณ พิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก ปี 2497-2498, เหรียญหล่อโบราณ พิมพ์คอน้ำเต้า นอกจากนี้ยังมีพระบูชารูปเหมือน, รูปหล่อขนาดห้อยคอ, พระพุทธชินราช หล่อโบราณ, พระคันธารราฐ หล่อโบราณ, พระพิมพ์สมเด็จ, พระยอดธง, พระปิดตา และเครื่องรางอื่นๆ      สำหรับ เหรียญหล่อโบราณ พิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก ปี 2497-2498 พิมพ์ทรงรูปเสมา ไม่มีห่วง ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อน้อยครึ่งองค์ รูปท่านดูถมึงทึง จนท่านพูดขึ้นเองว่า “หน้าดุยังกับเสือกับยักษ์ ใครเขาจะเอาไปใช้” อันเป็นที่มาของชื่อเหรียญรุ่นนี้



เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อน้อย พิมพ์คอน้ำเต้า (ด้านหน้า)
เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อน้อย พิมพ์คอน้ำเต้า (ด้านหลัง)

     ต่อมามีการสร้างในรูปแบบเดียวกันนี้อีกหลายรุ่น ด้วยเนื้อโลหะต่างๆ รวมทั้ง เหรียญหล่อโบราณ พิมพ์คอน้ำเต้า ซึ่งล้วนเป็นพระหลักยอดนิยมของวงการมานานแล้ว
พระครูภาวนากิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย อินฺทสโร)

     หลวงพ่อน้อย (พระครูภาวนากิตติคุณ) นามฉายา “อินฺทสโร” เกิดที่บ้านหนองอ้อ ต.ธรรมศาลา อ.เมือง    จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2426 บรรพชาเป็น   สามเณร ขณะอายุ 15 ปี ที่วัดสามกระบือเผือก      ต่อมาโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรา ท่านจึงลาสิกขาออกมาช่วยประกอบอาชีพ      เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2446 อายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทที่วัดธรรมศาลา โดยมี พระอธิการทอง วัดละมุด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูปริมานุรักษ์ (นวม) เป็นพระกรรมาวาจารย์ และพระสมุห์แสง วัดใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์       หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนาธุระ รวมทั้งวิชาไสยศาสตร์ จากอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงพ่อกอบ วัดบ่อตะกั่ว, พระครูปริมานุรักษ์ (นวม), พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง), อาจารย์อู๊ด (ฆราวาส) ฯลฯ ท่านเป็นผู้ที่มีความจำเป็นเลิศ มีจิตใจแน่วแน่ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสมาธิที่มั่นคง ทำให้การศึกษาทางวิทยาคมเป็นไปอย่างก้าวหน้าและรวดเร็ว      ในขณะเดียวกัน ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยเคร่งขรึม ไม่ค่อยพูดหรือแสดงออก ท่านได้ละความโลภ โกรธ หลง และลาภสักการะทั้งปวง มุ่งแต่ประกอบความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พระศาสนา และสังคมส่วนรวม อีกทั้งมีความมั่นคงในพรหมจรรย์ตลอดมา       ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อพ.ศ.2455 ขณะที่บวชแล้ว 9 พรรษา อายุ 29 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนานถึง 58 ปี       ปฏิปทาของ หลวงพ่อน้อย เป็นที่เลื่องลือกันว่า เป็นพระบริสุทธิสงฆ์ผู้มีวาจาสิทธิ์ และเชื่อว่าท่านสำเร็จในการทำผงวิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการฝังลูกนิมิต การเสกทราย และการลงไม้หลักมงคล ซึ่งใช้สำหรับการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ท่านมีชื่อเสียงด้านนี้โด่งดังมาก จนเป็นที่เลื่องลือทั่วไป       เรื่องที่มีการเล่าขานกันมาก คือ ในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปและพระกริ่งที่ วัดประสาทบุญญาวาท สามเสน เมื่อ พ.ศ.2508 ท่านได้ร่วมลงจารอักขระบนแผ่นทองสำหรับหล่อพระ พร้อมทั้งร่วมในพิธีปลุกเสก ปรากฏว่า แผ่นทองของท่านเมื่อใส่ลงไปในเบ้าหลอมไม่ละลาย ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของพระเกจิอาจารย์ที่เกิดปรากฏการณ์แบบเดียวกันนี้ จนเป็นที่โจษจันในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างกว้างขวาง      หลวงพ่อน้อย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2513 สิริอายุรวม 87 ปี พรรษา 67 ปัจจุบันสรีระของท่านไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด ยังคงตั้งประดิษฐานอยู่ที่วิหารจตุรมุขใหม่ “ศาลาอนุสรณ์ภาวนากิตติคุณ” เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือ ได้สักการบูชาโดยทั่วกัน
หนังสือ “หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา” จัดทำโดย ทีมงานนิตยสาร “พระท่าพระจันทร์”
      (ขอขอบพระคุณ ประวัติและภาพจากหนังสือ “หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา” จัดทำโดย ทีมงานนิตยสาร “พระท่าพระจันทร์” รางวัลงานประกวดพระที่โรงเรียนวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม วันที่ 30 มิถุนายน 2556)