ยอดนิยมจากคมเลนส์ ครั้งที่ 67 แล่ม จันท์พิศาโล

09 กรกฎาคม 2563 ยอดผู้ชม 11569 ครั้ง





พระพุทธรูป สมัยเชียงแสนสิงห์สาม หน้าตัก 1.3 นิ้วของ พงศธร เลากิตติศักดิ์ (แม็ก ช้างเผือก)จ.เชียงใหม่

        พระพุทธรูป สมัยเชียงแสนมีต้นกำเนิดจาก"อาณาจักรเชียงแสน"   ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย   ในอดีต สมัยที่ พระเจ้าอนุรุทมหาราชปกครองอาณาจักรเชียงแสน ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน (เถรวาท) ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดียผ่านมอญและพม่า เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรเชียงแสน  เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปจึงได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสกุลช่างปาละเข้าไว้ด้วย โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ พระรัศมีเป็นแบบดอกบัวตูมพระเกศาเป็นก้นหอยใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอูมสมบูรณ์ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิเหนือพระอังสาซ้ายสั้นและปลายแตกเป็นปากตะขาบ ฯลฯ ที่เรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1”   ต่อมาได้มีพัฒนาพุทธศิลป์แตกต่างกันออกไป โดยดูจากชายสังฆาฏิที่ยาวเลยราวนมลงมา จะเรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 2” และถ้ายาวลงมาจรดพระหัตถ์ จะเรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 3  องค์ในภาพนี้  คือ  พระพุทธรูป สมัยเชียงแสนสิงห์สาม หน้าตัก 1.3 นิ้วขนาดเล็กน่ารัก  สามารถห้อยคอได้  สนนราคาหลักหมื่นต้น ถึงหมื่นกลาง  เป็นพระของ  พงศธร เลากิตติศักดิ์ (แม็ก ช้างเผือก)จ.เชียงใหม่  คนรุ่นใหม่ผู้ชำนาญพระพุทธรูป และพระเครื่องยอดนิยมทุกสาย 


พระลบลำพูนกรุหนองสะเหน้า พิมพ์พิเศษฐานตาราง  (พิมพ์ใหญ่ฐาน3ชั้น)  ของ  ขวัญ กาแล (ธวัชชัย คำมาเมือง) จ.เชียงใหม่ 
 

        "พระลบพบคนดี สิ่งไม่ดีไม่มีกล้ำกราย"  --- พระลบ ลำพูนกรุหนองสะเหน้า พิมพ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มของพระลบ พิมพ์พิเศษ บางท่านเรียกว่า  “พิมพ์ฐานตาราง”  บางตำราเรียกว่า  “พิมพ์ใหญ่ฐาน3ชั้น”  เป็นพิมพ์ที่หายาก   “พิมพ์สามง่าม”  ยังว่าพอมีให้เห็นบ้างแต่พิมพ์นี้แทบนับองค์ได้ ประสบการณ์ท่านว่าใช้พระลบแล้วลบเลือนทุกข์โศกโรคภัยได้ อาราธนา พระลบ ติดตัวไปสู้คดีความขึ้นโรงขึ้นศาล แล้วชนะความได้ ยิ่งทำให้ พระลบ โด่งดังมากขึ้น  ปัจจุบัน พระลบ ค่อนข้างจะหายาก แทบจะไม่พบเห็นเลย ใครก็ตามที่ได้เป็นเจ้าของ พระลบ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม จงภูมิใจได้เลยว่า ท่านมีของดีวิเศษสุดไว้บูชาแล้ว  ที่นำมาให้ชมองค์นี้เป็นพระของ   ขวัญ กาแล (ธวัชชัย คำมาเมือง) จ.เชียงใหม่  บอกว่า นานๆเจอซักองค์ขออนุญาตโชว์ อย่างเดียว ---พระลบเป็นพระเครื่องสกุลลำพูนที่มีลักษณะแปลกแตกต่างไปจากพระสกุลลำพูนอื่น ๆ คือ  พุทธลักษณะพิมพ์ทรงมีรายละเอียดน้อยมาก เนื้อพระหยาบ แต่แกร่ง  สีขององค์พระเป็นสีแดงซึ่งไม่เหมือนกับสีพระสกุลลำพูนอื่นๆ  สันนิษฐานว่า พระลบ  น่าจะสร้างภายหลัง  พระรอด  พระคง  พระบาง  พระเปิม ฯลฯ ก็ได้ --- สถานที่ขุดพบ  พระลบ  คือ หนองน้ำใหญ่ชื่อว่า "หนองสะเหน้า" ใกล้กับวัดมหาวัน  หรืออีกชื่อว่า "หนองน้ำจามเทวี" สถานที่ขุดพบเป็นซากเจดีย์เก่า  จึงมีการสันนิษฐานว่าพระลบน่าจะสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์กองทัพ  พระนางจามเทวี  ที่ทำศึกชนะขุนวิลังคะ 






พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา 4 ชาย ของ สถิต มหัทธนไพศาล (สถิต ราชบุรี)


        พระหลวงพ่อเงิน  วัดบางคลาน  จ.พิจิตร  พิมพ์ขี้ตา  เป็นพระรูปเหมือน เททองหล่อแบบโบราณ โดยฝีมือช่างชาวบ้าน เป็นการหล่อทีละองค์ แบบเบ้าทุบ โดยเทน้ำทองร้อนๆ ลงแม่พิมพ์ที่คว่ำเอาหัวลง น้ำทองจะเข้าด้านล่างขององค์พระ เมื่อน้ำทองเย็นลงแล้ว จะทุบแม่พิมพ์ออก น้ำทองที่เทลงแม่พิมพ์แต่ละครั้งไม่เท่ากัน  ถ้ามากเกินฐานองค์พระจะนูนขึ้น ต้องใช้ตะไบแต่ง เพื่อให้องค์พระตั้งได้----พระหลวงพ่อเงิน  พิมพ์ขี้ตา แยกออกเป็น 3 พิมพ์ย่อย  คือ  พิมพ์ชาย,พิมพ์ชาย และพิมพ์ชาย  โดยดูจากชายจีวร ด้านขวามือขององค์พระ ที่นำภาพมาให้ชมนี้  คือ  พิมพ์ 4 ชาย  เป็นพระของ สถิต มหัทธนไพศาล (สถิต ราชบุรี) ประธานกรรมการบริหาร สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย สาขาจังหวัดราชบุรี  “พี่ถิต”  บอกกว่า....พระองค์นี้ไม่ค่อยสวยแต่ศักสิทธิ์นักแล อยู่กับผมมากว่า 20ปี เป็นพระหลวงพ่อเงิน องค์แรกที่เช่าไว้   องค์สวยๆ เคยได้มา แต่ไม่เคยคิดที่จะเก็บเพราะไม่ค่อยมีทุนต้องขายออกไปเลยเหลือแต่สภาพแบบนี้สมัยก่อนยังไม่แพงแค่หลักหลายๆแสนบาท  แต่ไม่มีปัญญาที่จะเก็บมายุคนี้ไม่ต้องหวัง  ราคาขึ้นหลักล้านไปแล้ว  ก็เลยมีแค่องค์นี้องค์เดียว จึงไม่เคยคิดที่จะขายต่อให้ใคร.....นี่คือ ความในใจของ  “พี่ถิต”  เซียนพระอาวุโสแห่ง ราชบุรี 

X




รูปเหมือนปั๊มอุดกริ่ง หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต รุ่นแรก ปี 2512 หลังเลข “๑” พิมพ์นิยม ของ  จอมเวชยันต์ ยอดแก้ว  ปากพนัง 
 

        หลวงพ่อแช่ม (พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี) วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม)  เป็นพระอริยสงฆ์ที่ชาวภูเก็ต ให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสอย่างมาก  ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.2370  มรณภาพ เมื่อ 18 เมษายน 2451 สิริรวมอายุ 81 ปี  พรรษา61  เมื่อ พ.ศ.2419 เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองภูเก็ตจากฝีมือของกลุ่มอั้งยี่กรรมกรขุดแร่ดีบุกชาวจีน  ชาวบ้านที่เป็นลูกศิษย์ของท่าน  ได้รวมกลุ่มกันสู้พวกอั้งยี่ โดยขอผ้าประเจียดจากหลวงพ่อแช่มเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  จนรบชนะพวกอั้งยี่ ในปีต่อมา คณะกรมการเมืองภูเก็ตได้ยกความดีความชอบส่วนหนึ่งในการปราบกบฏอั้งยี่ครั้งนี้ให้แด่หลวงพ่อแช่ม และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้หลวงพ่อแช่มเป็น  “พระครูสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต”  สมณศักดิ์ที่ "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี"   ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปทั่วภาคใต้  

 หลังจากมรณภาพแล้ว  เจ้าอาวาสรูปต่อๆ มาได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อรำลึกถึงท่าน เป็นประจำ หลายรุ่นด้วยกัน  ล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏประสบการณ์ต่างๆ ตลอดมา  ที่นำมาภาพมาให้นี้  คือ  รูปเหมือนปั๊มอุดกริ่ง หลวงพ่อแช่ม รุ่นแรก ปี 2512 หลังเลข “๑”  พิธีปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ และจากภาคกลาง หลายท่าน  อาทิ  พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา,  หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด,  หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช,  หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง  ฯลฯ  องค์นี้จัดเป็น  “พิมพ์นิยม” มีหมายเลข “๑”  ข้างหลัง สภาพสวยสมบูรณ์  น้ำทองเดิมๆมียาแดงขัดตามซอก เป็นพระแท้ดูง่าย จุดสังเกต คือ มือซ้ายนิ้วโป้งมีเล็บ คำว่า “แช่ม”  ม. ม้า มีเครา  และเลข  “๑” ด้านหลังมีรอยเขยื้อน  สนนราคาหลักหมื่นต้น  เป็นพระของ  จอมเวชยันต์ ยอดแก้ว  ชาวปากพนัง ชำนาญพระสายใต้เป็นพิเศษ  

X



ราหูกะลาแกะพระอาจารย์ปิ่น วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม ขนาด 4.5 ซม.ยุคต้น พิมพ์ทรงสามเหลี่ยม ของ เติ้ง รักษ์ศิลป์
ราหูกะลาแกะพระอาจารย์ปิ่น วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม ขนาด 4.5 ซม.ยุคต้น พิมพ์ทรงสามเหลี่ยม ของ เติ้ง รักษ์ศิลป์
 

        ราหูกะลาแกะพระอาจารย์ปิ่น วัดศีรษะทอง  จ.นครปฐม ขนาด 4.5 ซม. ท่านเป็นลูกศิษย์คนสำคัญที่สืบทอดวิชาอาคมต่างๆมาจากหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง นอกจากนี้ในสมัยที่หลวงพ่อน้อยยังมีชิวิตอยู่นั้นพระอาจารย์ปิ่ยังเป็นผู้ช่วยลงจารอักขระที่กะลาอีกด้วย... ราหูอมจันทร์ของวัดศีรษะทองเป็นการสร้างตามตำรับใบลานจารอักขระขอมลาวที่นำมาจากประเทศลาวโดยตรง แกะจากกะลาตาเดียวซึ่งนับเป็นวัสดุอาถรรพ์ที่มีดีในตนเองตามธรรมชาติโดยเฉพาะด้านมหาอุดคงกระพัน ราหูนับเป็นเครื่องรางที่ให้คุณด้านเสริมดวงชะตา โชคลาภ และแคล้วคลาดจากเคราะห์ต่างๆ ชิ้นนี้เป็นของยุคต้น สภาพสวยแชมป์ ผิวหิ้ง เนื้อจัดมัน ไม่ผ่านการใช้ใดๆทั้งสิ้น หายากที่สุดเพราะพบเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่แกะเป็นทรงสามเหลี่ยม ด้านหลังลงจารเต็มสูตร ฤกษ์และ ฦา”  นอกจากนี้ยังพิเศษที่ด้านหลังลงจาร ฦา” ที่พระจันทร์ และ นะ ๒๑” /“โม ๑๒ที่ไหล่ทั้งสองข้าง ชิ้นนี้มีภาพลงอยู่ในหนังสือเครื่องรางยอดนิยมจังหวัดนครปฐม และหนังสือเครื่องรางยอดนิยมชุดที่2เป็นสมบัติของ   เติ้ง รักษ์ศิลป์  ผู้ชำนาญเครื่องรางยอดนิยม ระดับแถวหน้าคนหนึ่ง ของวงการ