ยอดนิยมจากคมเลนส์ / แล่ม จันท์พิศาโล ครั้งที่ 71

09 มกราคม 2564 ยอดผู้ชม 9643 ครั้ง


ยอดนิยมจากคมเลนส์ ครั้งที่71  /  แล่ม จันท์พิศาโล



                    พระลีลาช่อดอกไม้               กรุวัดราชบูรณะ เนื้อชินเงิน(ด้านหน้า)
 พระลีลาช่อดอกไม้
กรุวัดราชบูรณะ เนื้อชินเงิน(ด้านหลัง)



                  พระลีลาช่อดอกไม้                      กรุวัดราชบูรณะ  เนื้อชินเงิน(ด้านข้าง) 
พระลีลาช่อดอกไม้
กรุวัดราชบูรณะ เนื้อชินเงิน(ด้านข้าง)

 

        พระลีลาช่อดอกไม้  กรุวัดราชบูรณะ  เนื้อชินเงิน จ.พระนครศรีอยุธยา  องค์พระมีขนาดกว้างประมาณ 2.1 ซม.    สูงประมาณ 6.5 ซม.  ส่วนใหญ่พระที่เทออกมาคมชัดลึกมีรายละเอียดบนพระพักตร์และองค์พระชัดเจนสวยงามอลังการ  และสมบูรณ์มาก  ผิวพระมีพรายปรอทขาวกระจายทั่วทั้งองค์  แม้ว่าจะมีอายุการสร้างกว่า 600 ปี มาแล้วก็ตาม  เป็นพระพื้นฐานที่นักสะสมสามารถใช้เป็น  “พระองค์ครู”  ในการศึกษาเนื้อหาของพระเนื้อชินผิวปรอทได้เป็นอย่างดี   เมื่อก่อนประมาณสิบปีที่แล้ว  ยังพบเห็นได้ทั่วไป  เล่นหาหลักพันกลางๆ  มาทุกวันนี้องค์สวยๆ  ต้องว่ากันที่  2-3  หมื่นบาท  จึงจะได้พระมาบูชา  องค์ในภาพนี้เป็นพระของ   ฐกร บึงสว่าง   ผู้บริหารสถาบันการเงินชื่อดัง  เป็นนักสะสมพระเครื่องหลากหลายหน้า  เก็บแต่พระแท้สวยดูง่ายเท่านั้น

 



พระถ้ำเสือ กรุเก่า พิมพ์หน้าตุ๊กตา (นิยม)(ด้านหน้า)
พระถ้ำเสือ กรุเก่า พิมพ์หน้าตุ๊กตา (นิยม)(ด้านหลัง)

 

        พระถ้ำเสือ  เป็นพระเอกลักษณ์อีกพิมพ์หนึ่งของ     เมืองสุพรรณบุรี  เพราะพระพิมพ์นี้ยังไม่เคยมีการพบจากกรุพระเมืองอื่นใดเลย  และที่เมืองสุพรรณเองก็จะพบเฉพาะที่  อ.อู่ทอง เท่านั้น  อำเภออื่นๆ ก็ไม่มีเช่นกันพระถ้ำเสือ  พบครั้งแรกในราวปี 2487  ขณะที่ชาวบ้านใน อ.อู่ทอง  ไปหามูลค้างคาวที่  ถ้ำเขาเสือ  อันเป็นที่มาของพระพิมพ์นี้  คือ  พระเขาถ้ำเสือ  ต่อมาเรียกให้สั้นเข้าเหลือเพียง   พระถ้ำเสือ  ที่น่าแปลก คือ พระพิมพ์นี้ไม่ต้องขุดหาแต่ประการใด เพราะมีกระจัดกระจายอยู่บนผิวดินในถ้ำต่างๆ ดังกล่าว   นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ผู้สร้าง  พระถ้ำเสือ  คือ  ฤาษี  เพราะว่าฤาษีชอบอาศัยอยู่ในถ้ำ  เพื่อจำศีลบำเพ็ญภาวนา หรือปฏิบัติธรรมอยู่ตามป่าเขา  จนมีฌานสมาบัติอันแก่กล้าจึงได้สร้างพระพิมพ์นี้ไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา  พระถ้ำเสือ  แบ่งออกเป็นพิมพ์ต่างๆ  ตามขนาดขององค์พระ คือ  พิมพ์ใหญ่  พิมพ์กลาง  พิมพ์เล็ก  และ พิมพ์จิ๋ว  และยังแบ่งตามลักษณะของพิมพ์ออกไปอีกหลายพิมพ์  เช่น   พิมพ์หน้าฤาษี  พิมพ์หน้าตุ๊กตา  พิมพ์หน้าแก่ ฯลฯ  เป็นพระเนื้อดินเผา  ส่วนใหญ่เนื้อละเอียดแกร่ง  ศิลปะทวารวดี  องค์ในภาพนี้เป็น  พระถ้ำเสือ  กรุเก่า  พิมพ์หน้าตุ๊กตา (นิยม)   ของ    ศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน   โรงพยาบาลศิริราช  แพทย์ผู้มีความรักความสนใจในการสะสมพระเครื่องอย่างจริงจัง  จนมีพระหลักพระยอดนิยมมากมาย

 



    พระขุนแผน กรุวัดหัวข่วง จ.เชียงใหม่         เนื้อดิน(ด้านหน้า)
พระขุนแผน กรุวัดหัวข่วง จ.เชียงใหม่
เนื้อดิน(ด้านหลัง)



พระขุนแผน กรุวัดหัวข่วง จ.เชียงใหม่         เนื้อดิน(ด้านข้าง)
พระขุนแผน กรุวัดหัวข่วง จ.เชียงใหม่
เนื้อดิน(ด้านข้าง)

        พระขุนแผน  กรุวัดหัวข่วง  จ.เชียงใหม่  เนื้อดิน  พิมพ์ทรง 5 เหลี่ยม  ขุดพบที่ฐานแท่นแก้ว พระประธาน วัดหัวข่วง   เมื่อประมาณปี 2498  เชื่อกันว่า  น่าจะมีเพียงร้อยกว่าองค์เท่านั้น   พระพิมพ์นี้แสดงรูปแบบศิลปะล้านนา ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบสุโขทัยมาบ้าง  อายุการสร้างราวพุทธศตวรรษ 21  พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นหนึ่งในพระเครื่องอันเป็นที่ปรารถนาของนักสะสมพระกรุเมืองเหนือ  หายากมาก  โดยเฉพาะพระที่มีสภาพสมบูรณ์เต็มฟอร์ม  องค์นี้มีบัตรรับรอง “พระแท้”  จากเว็บพระล้านนา.คอม  เป็นพระแชมป์ งานประกวดพระ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย จัดโดย ทีมงานสหายพระกรุ  ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่  สนนราคาเช่าหาหลักแสนต้น   เป็นพระของ   ป้อม ดอยสะเก็ด  นักสะสมพระกรุล้านนา   (วัดหัวข่วง  หรือ วัดแสนเมืองมา  เป็นวัดเก่าแก่  มีมาตั้งแต่สมัยสถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ไม่นาน   พื้นที่ปัจจุบันอยู่ ณ  ประตูช้างเผือก  ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่) 




               หลวงปู่ศุข พิมพ์วัดส้มเสี้ยว               เนื้อชินตะกั่ว (ด้านหน้า)
หลวงปู่ศุข พิมพ์วัดส้มเสี้ยว
เนื้อชินตะกั่ว (ด้านหลัง)



            หลวงปู่ศุข พิมพ์วัดส้มเสี้ยว            เนื้อชินตะกั่ว (ด้านข้าง)
หลวงปู่ศุข พิมพ์วัดส้มเสี้ยว
เนื้อชินตะกั่ว (ด้านข้าง)

        หลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่า  จ.ชัยนาท  เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมขลัง  ท่านได้สร้างพระเครื่องไว้มากมาย หลายรุ่นหลายพิมพ์  ล้วนมีประสบการณ์ในทุกด้าน    โดยเฉพาะพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มประภามณฑล  โด่งดังมาก  นอกจากออกที่วัดท่านเองแล้ว  ยังได้ออกให้วัดต่างๆ  อีกด้วย  โดยการจัดสร้างท่านได้ขึ้นแบบแม่พิมพ์ใหม่  เพื่อไม่ให้เหมือนกับของวัดท่านเอง อาทิ  พิมพ์วัดส้มเสี้ยว  เนื้อชินตะกั่ว  สร้างขึ้นในสมัย หลวงพ่อน้อย เป็นเจ้าอาวาส  ซึ่งหลวงพ่อน้อย  มีความสนิทสนมกับ หลวงปู่ศุข  มาก  จึงได้ขอความเมตตาจาก  หลวงปู่ศุข   จัดสร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นมาเพื่อรายได้บูรณะ  วัดส้มเสี้ยว  อ.บรรพตพิสัย         จ.นครสวรรค์  พระหลวงปู่ศุข  พิมพ์วัดส้มเสี้ยว  คือ  องค์ที่นำภาพมาให้ชมนี้   องค์นี้มีสภาพสวยแชมป์  ฟอร์มเทพ  คมชัดลึก  ทุกมิติ  จมูกขึ้นเป็นสัน  ผิวเดิมๆ  ด้านหลังมีจารเก่าครบสูตร  เป็นพระแท้ดูง่ายด้วยตาเปล่า   องค์พระมีขนาดเล็กน่ารักน่าคล้องบูชา  ส่งประกวดติดที่ 1 มาแล้วกว่า 10 งาน  ที่รับรองโดย สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย  เป็นพระของ   นพ.มาณพ โกวิทยา   แหล่งรวมพระยอดนิยมทุกประเภท




พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์ปั้น(ด้านหน้า)
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์ปั้น(ด้านหลัง)



พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์ปั้น(ด้านข้าง)
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์ปั้น(ด้านใต้ฐาน)

 

            พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว  พิมพ์ปั้น  เป็นพิมพ์ที่สร้างขึ้นโดยวิธีปั้นทีละองค์  ไม่มีแม่พิมพ์  พิมพ์ทรงองค์พระจึงไม่เหมือนกัน และขนาดองค์พระก็ไม่เท่ากัน  พระปิดตา พิมพ์ปั้น  เป็นการสร้างในช่วงที่ หลวงพ่อแก้ว ยังอยู่ที่ วัดในปากทะเล  จ.เพชรบุรี  ประมาณ พ.ศ.2400-2431  ต่อมาท่านได้เดินธุดงค์ไปอยู่ที่  วัดเครือวัลย์  จ.ชลบุรี  และได้สร้าง พระปิดตา แบบมีแม่พิมพ์  เนื้อผงคลุกรัก  จนโด่งดังไปทั่วเมืองไทย  เป็นที่ปรารถนาอย่างยิ่งของนักสะสมพระเครื่องตลอดมาพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว  พิมพ์ปั้น  องค์ที่นำภาพมาให้ชมนี้  เป็นพระของ  เฉลิมพล อานุภาพบรรเจิด (สจ.บอม เมืองน่าน)  นักสะสมพระเครื่องอันดับต้นๆ  ของวงการ   นิยมเก็บพระหลักยอดนิยมทุกประเภท