อมตพระกรุ เมืองนครปฐม : ประวัติเมืองนครปฐม

25 กรกฎาคม 2559 ยอดผู้ชม 6028 ครั้ง

ประวัติเมืองนครปฐม

ณ ผืนแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของนครปฐมหรือบริเวณใกล้เคียงในแถบนี้ เมื่อ ครั้งอดีตกาลระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เชื่อว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญของอาณาจักรทวาราวดีซึ่งเคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนและเป็นเมืองสำคัญที่ พระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาถึงดินแดนของสุวรรณภูมินี้ เป็นแห่งแรกเลยก็ว่าได้ เพราะจากการที่ได้มีการค้นพบวัตถุโบราณในสมัยคุปตะหรือการค้นพบศิลาจารึกอักษรคฤนถ์ ซึ่งเป็นอักษรโบราณของชาวอินเดียที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในสมัยนั้นและการพบพระเสมาธรรมจักรศิลาสีเขียวในสมัยทวาราวดี หรือการพบเหรียญเงินตราสังข์ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ทำให้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้สันนิฐานอาไว้ว่าชาวอินเดียน่าจะเป็นชาติแรกที่เดินทางเข้ามา พร้อมกับได้นำเอาศาสนาซึ่งมีทั้งศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูและศาสนาพุทธ ตลอดจนนำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม วิชาการต่างๆ เข้ามาด้วย และได้เผยแพร่อยู่ในดินแดนส่วนนี้อย่างแน่นอน การได้พบพระพุทธรูป และภาพจำหลักนูนต่ำที่จังหวัดนครปฐม ที่เมืองอู่ทองที่สุพรรณบุรี เมืองลพบุรีหรือที่ดงศรีมหาโพธิ์ ปราจีนบุรี เหล่านี้ถือว่าเป็นการค้นพบประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินของประเทศไทยในขณะนี้ และโบราณวัตถุเหล่านี้จึงถูกเรียกว่าเป็นสกุลช่างทวาราวดี คำว่า “ทวาราวดี” นั้น เป็นชื่อของประเทศที่ได้รับอารยธรรมอินเดียซึ่งนักประวัติศาสตร์ชาวจีนได้กล่าวไว้ว่ามีอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ อยู่ระหว่างประเทศพม่าและกัมพูชา ดังนั้นระยะเวลาและสถานที่ของเมืองนครปฐมหรือบริเวณที่ใกล้เคียงจึงตรงกันมากของอายุของประติมากรรมที่พบในเมืองนครปฐม ซึ่งประติมากรรมเก่าแก่เหล่านี้ได้แสดงถึงอิทธิพลอย่างสูงแบบศิลปะอินเดียแบบคุปตะที่เจริญขึ้นมาตั้งแต่ราวพุทธศักราช ๘๗๐ จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าเมืองนครปฐมเป็นเมืองเก่าแก่ที่สำคัญมาแต่โบราณกาล เพราะประกอบไปด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นองค์พระปฐมเจดีย์ เมืองเก่ากำแพงแสน พระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์และเหรียญตราสังข์ เป็นต้น นครปฐมเป็นเมืองเก่าแก่มานานตั้งแต่เมื่อสมัยทวาราวดี และได้ถูกทิ้งร้างมานาน ต่อมาเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ทำการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ขึ้นมาใหม่ จึงทำให้เมืองนครปฐมมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนามาจนทุกวันนี้ พระเครื่องที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครปฐมที่สำคัญก็ได้แก่พระที่กำเนิดที่วัดกลาง (วัดร้าง) ถือว่าเป็นพระหลักสำคัญของวงการพระเครื่องเลยทีเดียว ดังจะได้อธิบายต่อไป พระพิมพ์นี้ เคยมีผู้พบที่ ต. ท่าชัย จ. สุพรรณบุรี แต่พบภายหลังมีจำนวนน้อยเช่นกัน
เมืองนครปฐม
พระประธานในพระอุโบสถ วัดปฐมเจดีย์ เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาสร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี
พระปฐมเจดีย์เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย