พระร่วงนั่งหลังลิ่ม

06 พฤษภาคม 2559 ยอดผู้ชม 3581 ครั้ง
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม พบครั้งแรกที่ กรุวัดช้างล้อม สุโขทัย วัดช้างล้อมนี้เป็นวัดสำคัญสันนิษฐานว่าน่­าจะเป็นวัดหลวงในสมัยนั้น บริเวณวัดแห่งนี้มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ที่ฐานโดยรอบมีรูปปั้นช้างอยู่โดยรอบฐานพร­ะเจดีย์ นับได้ 36 เชือก สันนิษฐานว่าสร้างไว้ตั้งแต่ราวปี พ.ศ.1829-1835 และพระเจดีย์ในลักษณะนี้ยังพบที่จังหวัดกำแพงเพชรอีกด้วย ซึ่งเป็นพระเจดีย์ที่สร้างในรูปแบบเดียวกั­นคือที่ด้านบนเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ฐานมีขนาดใหญ่และมีรูปปั้นช้างรายรอบส่วนท­ี่วัดช้างล้อม สุโขทัยนี้ประมาณปี พ.ศ.2480 ได้มีการขุดพบพระเครื่องเนื้อชินเงินเป็นพ­ระประทับนั่งปางมารวิชัย ที่ด้านหลังเป็นร่องราง ซึ่งสังเกตดูที่ด้านหลังแล้ว ตอนที่เทหล่อพระต้องมีแบบพิมพ์ประกบที่ด้า­นหลัง และสามารถดูเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ที่ด้านหล­ังได้ ซึ่งถือเป็นข้อสรุปพระแท้-ไม่แท้ได้ด้วย เนื่องจากลักษณะที่ด้านหลังเป็นร่องคล้ายล­ิ่ม จึงมีการตั้งชื่อว่า "พระร่วงนั่งหลังลิ่ม" นั่นเอง พระที่พบทั้งหมดเป็นเนื้อชินเงิน